Home / ข่าวประชาสัมพันธ์ / ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 31/2559 มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 31/2559 มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา

DSC_0256ศึกษาธิการ – ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 19 มกราคม 2559 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ

แต่งตั้งโฆษกกระทรวง

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอรายชื่อโฆษกกระทรวง/หน่วยงานในฝ่ายบริหาร รวมทั้งสิ้น 15 หน่วยงาน

1. กระทรวงกลาโหม โฆษก พลตรี คงชีพ ตันตระวาณิชย์ หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี
2. กระทรวงการคลัง โฆษก นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รองโฆษก นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
3. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โฆษก นายชาญวิทย์ ผลชีวิน ผู้ตรวจราชการกระทรวง
4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โฆษก นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ
5. กระทรวงพาณิชย์ โฆษก นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง รองโฆษก นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
6. กระทรวงมหาดไทย โฆษก นายชยพล ธิติศักดิ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รองโฆษก นายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวง นายกาศพล แก้วประพาฬ ที่ปรึกษาด้านการปกครอง ผู้ช่วยโฆษก นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ เลขานุการกรมที่ดิน
7. กระทรวงยุติธรรม โฆษก นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านบริหารยุติธรรม รองโฆษก นายวัลลภ นาคบัว รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
8. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โฆษก นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ รองโฆษก นายวรวรงค์ รักเรืองเดช ช่วยราชการสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9. กระทรวงศึกษาธิการ โฆษก นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
10. กระทรวงสาธารณสุข โฆษก นายสุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
11. สำนักงบประมาณ โฆษก นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ช่วยโฆษก นางเพชรรัตน์ เสรีพันธ์พานิช รักษาการนักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ
12. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โฆษก นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายปกครอง รักษาการในตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมายประจำ และนายยอดฉัตร ตสาริกา นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการ
13. สำนักงาน ก.พ. โฆษก หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล รองเลขาธิการ ก.พ.
14. สำนักงาน ก.พ.ร. โฆษก นางกิตติยา คัมภีร์ ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ (นักพัฒนาระบบราชการทรงคุณวุฒิ)
15. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โฆษก นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี


รับทราบร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขชื่อ “คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและอัญมณีศาสตร์” เป็น “คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”


เห็นชอบแผนงาน/โครงการและงบประมาณในการดำเนินการภายใต้โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) ขออนุมัติงบประมาณหรืองบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับแผนงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล รวมทั้งให้จัดทำรายละเอียดการดำเนินโครงการที่ระบุเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ในแต่ละขั้นตอนพร้อมทั้งงบประมาณ เสนอคณะกรรมการเตรียมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อพิจารณาในรายละเอียด

สาระสำคัญของเรื่อง  ทก. รายงานว่า ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานโทรคมนาคมทั้งภายในและระหว่างประเทศ จึงเสนอแผนการดำเนินงาน “โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ” โดยแบ่งการดำเนินโครงการฯ เป็น 2 กิจกรรม ดังนี้

   กิจกรรมที่ 1 การขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้ทุกหมู่บ้านสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยความเร็วเทียบเท่า 4G และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนในทุกหมู่บ้านมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลภาครัฐและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำความเจริญเข้าสู่หมู่บ้านอย่างทั่วถึงในด้านต่าง ๆ ทั้งการศึกษา สาธารณสุข และภาคเกษตรกร รวมทั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ

   กิจกรรมที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็น ASEAN Digital Hub โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยให้มีโครงข่ายเชื่อมต่อโดยตรงกับศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ต (Internet Hub) ของโลก และเพื่อลดต้นทุนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่างประเทศของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้กับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ค่าบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับประชาชนถูกลง รวมทั้งส่งเสริมการเข้ามาลงทุนของ Content Provider รายใหญ่ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ต หรือศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub)


เห็นชอบการกำหนดมาตรฐานการออกแบบและก่อสร้างทางจักรยาน

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดมาตรฐานการออกแบบ และการก่อสร้างทางจักรยานในประเทศไทย เพื่อให้ทุกหน่วยงานนำไปอ้างอิงในการก่อสร้างเส้นทางจักรยานให้มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ

ทั้งนี้ ได้เห็นชอบให้กระทรวงคนาคม (คค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.)  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)  สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.)  กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)  กระทรวงการคลัง (กค.)  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)  และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการพัฒนาและส่งเสริมการเดินทางของประชาชนด้วยจักรยานตามภารกิจหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยให้นำคู่มือมาตรฐานการออกแบบและการก่อสร้างทางจักรยานสำหรับประเทศไทย เพื่อสำหรับอ้างอิงการก่อสร้างช่องทางจักรยานให้เป็นรูปแบบและมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ

ในส่วนของหน่วยงานและสถานศึกษา จะต้องคำนึงถึงมาตรฐานการแบ่งประเภทของทางจักรยาน (Bike Way Classification) คือ บริเวณที่คาดว่ามีผู้ขับขี่จักรยานที่เป็นเด็กหรือผู้มีประสบการณ์ขี่จักรยานน้อย เช่น ทางจักรยานบริเวณโรงเรียน ชุมชน หรือสวนสาธารณะ เป็นต้น จะต้องใช้การจัดพื้นที่เฉพาะสำหรับจักรยานเพื่อแยกทางจักรยานออกจากถนน

หลักเกณฑ์ของการกำหนดที่จอดรถจักรยาน

พื้นที่สำหรับการพิจารณา

มาตรฐานที่จอดรถจักรยาน

1. อาคารที่พักอาศัย
2. อาคารสโมสร หรือ Club House (ใช้ทำกิจกรรม  เช่น เล่นกีฬา หรือ Sport Club เป็นต้น)
3. อาคารสโมสร หรือ สถานที่ที่ ใช้ในการพบปะสังสรรค์ ของคณะต่างๆ
4. โรงแรม หรืออพาร์ทเม้นท์
5. ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงงาน Galleries
6. โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
7. โรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนชั้นประถม
8. สถานที่พักฟื้น คลีนิค และสถาบันฯ
9.  โรงพยาบาล
10. ช้อปปิ้งมอลล์ โรงภาพยนต์ – คอมเพล็กซ์ และอะเวนิว
11. ย่านธุรกิจ และย่านนิคมอุตสาหกรรม
12. พื้นที่อื่นๆ

1 คัน ต่อ 3 ห้อง-ที่พัก
1 คัน ต่อ ห้องกิจกรรม (บวก 3 % ของจำนวนคน ที่จุได้สูงสุด)

1 คัน ต่อ ห้องสังสรรค์

1 คัน ต่อ พนักงาน 20 คน
1 คัน ต่อ ที่จอดรถยนต์ 10 คัน

1 คัน ต่อ พนักงาน 4 คน
1 คัน ต่อ นักศึกษา 4 คน

1 คัน ต่อ พนักงาน 10 คน
1 คัน ต่อ พนักงาน 20 คน
1 คัน ต่อ พนักงาน 20 คน

1 คัน ต่อ ที่จอดรถยนต์ 10 คัน

1 คัน ต่อ ที่จอดรถยนต์ 10 คัน