Home / ความเป็นมา ของ “การกระจายอำนาจแบบ CLUSTER”

ความเป็นมา ของ “การกระจายอำนาจแบบ CLUSTER”

1. สภาพความเป็นมา

      สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภารกิจหลักในการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีเป้าหมายสำคัญยิ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่งและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

      อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการศึกษามาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามลำดับ แต่เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่มาก โดยในส่วนกลางมีสำนักและหน่วยงานเทียบเท่าสำนัก จำนวน 22 สำนัก มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 183 เขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 42 เขต มีโรงเรียนในสังกัด       จำนวน 30,816 โรงเรียน และมีครูและบุคลากรทางการศึกษารวมกันราว 400,000 คน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจุดเน้นในการที่จะพัฒนาผู้เรียน พัฒนาครู ตลอดจนการบริหารจัดการ เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพในการจัดการศึกษา แต่การดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายและจุดเน้น ยังมีปัญหาและอุปสรรค อยู่พอสมควรอันสืบเนื่องจากข้อจำกัดในการส่งเสริมและสนับสนุน และการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

          เมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ต้องการให้บริหารการศึกษาโดยเน้นความมีเอกภาพเชิงนโยบายแต่หลากหลายการปฏิบัติ รวมถึงการกำหนดให้มีการกระจายอำนาจไปสู่คณะกรรมการ

สำนักเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดบทบาทการบริหารจัดการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในส่วนกลาง แต่เพิ่มอำนาจให้กับหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ ดังนั้นจึงควรจะต้องมีการจัดตั้งเขตตรวจราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นหน่วยงานรองรับการกระจายอำนาจที่สอดคล้องกับการบริหารงานเชิงบูรณาการกลุ่มจังหวัด  นำนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติที่เชื่อมโยงความร่วมมือกับภาคส่วนการศึกษาในกลุ่มจังหวัดและภาคส่วนอื่นๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนใช้ทรัพยากรร่วมกัน

      การจัดตั้งเขตตรวจราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะสอดคล้องกับเขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมี 19 เขต จะเป็นหน่วยงานที่รองรับการมอบภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายการศึกษาระดับชาติไปสู่การปฏิบัติร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จะเป็นการแก้ปัญหาการบริหารงานของหน่วยงาน  ที่มีขนาดใหญ่มากของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจตามเจตนารมณ์ของกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการศึกษาของชาติ

2. ผลการประชุม คณะกรรมการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำเขตตรวจราชการ    

สรุปสาระสำคัญของการประชุมได้ดังนี้

2.1 การบริหารงบประมาณค่าใช้จ่ายของเขตตรวจราชการ

                 2.2.1 การโอนงบประมาณเพื่อดำเนินงาน ให้จัดสรรแก่เขตตรวจราชการเท่า ๆ กันทุกเขตตรวจราชการ โดยโอนงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำเขตตรวจราชการ

                2.2.2 การใช้งบประมาณ ให้เขตตรวจราชการจัดทำแผนการใช้งบประมาณ ตามเหตุผลความจำเป็นที่ตั้งอยู่บนฐานข้อมูลของเขตพื้นที่ในเขตตรวจราชการ

2.2 ขอบข่ายการดำเนินงาน

2.3.1 โครงสร้างคณะกรรมการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำเขตตรวจราชการ

โครงสร้างคณะกรรมการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำเขตตรวจราชการ

555

 

2.3.2 องค์ประกอบและการได้มาของคณะกรรมการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำเขตตรวจราชการประกอบด้วย

                   1) ประธานกรรมการ

                   2) รองประธานกรรมการ อย่างน้อยเขตตรวจราชการละ 2 คน

           3) กรรมการ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทุกเขตพื้นที่การศึกษาในเขตตรวจราชการ นั้น

 4) กรรมการและเลขานุการ ได้แก่รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตตรวจราชการ นั้น

           5) ผู้ช่วยเลขานุการ จำนวนไม่เกิน 3 คน โดยแต่งตั้งจากบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริหารการ         ศึกษาขั้นพื้นฐานเขตตรวจราชการ นั้น

2.3. บทบาทหน้าที่และภาระงาน

        2.4.1 สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา   เขตพื้นที่ในเขตตรวจราชการ

2.4.2 ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตตรวจราชการ

2.4.3 ประสาน เร่งรัดการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตตรวจราชการ

                2.4.4 ช่วยเหลือ สนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตตรวจราชการ

                2.4.5 ปฏิบัติงานร่วมกับผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง ในเขตตรวจราชการ

                2.4.6 ดำเนินงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม ความรู้ ความก้าวหน้าและผลงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตตรวจราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

                2.4.7 ประสานงานด้านการบริหารบุคคลเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                2.4.8 ทำหน้าที่ตรวจติดตาม ประเมินผล นโยบายตามภารกิจตลอดจนนิเทศ ให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อปรับปรุงและพัฒนา ทั้งในด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป ต่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                2.4.9 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนด

                2.4.10 ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมาย

2.4 ตัวชี้วัดความสำเร็จด้านการกระจายอำนาจแบบ CLUSTER เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

  2.5.1. จำนวนแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย

              2.5.2 ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับนโยบายและการดำเนินงาน

  2.5.3 ระดับความพึงพอใจของผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีต่อการดำเนินงาน

              2.5.4 ระดับความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาที่มีต่อการดำเนินงาน

              2.5.5 ระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการต่อกิจกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย

              2.5.6 ระดับของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4 ด้าน คือ

1) ด้านการแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้

2) ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา

3) การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และ

4) การพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษ

           2.5.7 ระดับของการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน 4 ด้าน คือ

1) การลดเวลาเรียนของนักเรียน (ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้)

2) การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

3) การจัดการศึกษาในระบบทวิศึกษา

4) การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ

              2.5.8 ระดับของการพัฒนาคุณลักษณะเฉพาะของนักเรียน 2 ด้าน คือ

1) การปลูกฝังค่านิยมหลัก 12 ประการ

2) การเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ       

              2.5.9 ระดับของการพัฒนาครูด้านการพัฒนาตนเองด้วยระบบ TEPE Online

              2.5.10 ระดับการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ 2 ด้าน คือ

1) การบริหารจัดการงบลงทุน

2) การเบิกจ่ายงบประมาณตามเป้าหมายในแต่ละไตรมาส

2.5  ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

           2.6.1 การได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายในเขตตรวจราชการ

           2.6.2 การให้การสนับสนุนงบประมาณ บทบาทหน้าที่ และความไว้วางใจจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

           2.6.3 ภาวะผู้นำของประธานกรรมการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำเขตตรวจราชการ การสื่อสารสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องและช่องทางผู้ที่ปฏิบัติงานเข้าถึงได้โดยง่าย

               2.6.4 การให้ความสำคัญกับระบบข้อมูล สารสนเทศที่จำเป็นต่อการบริหาร

               2.6.5 มีกลไกหรือมาตรการในการตรวจติดตาม ประเมินผลและรายงานที่มีประสิทธิภาพ

      2.6.6 การประเมินและติดตามผลการดำเนินงาน

                       2.6.6.1 การประเมินระหว่างดำเนินกา

                 1) โดยการประเมินแบบออนไลน์

                  2) จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกัน

                 3) การตรวจเยี่ยมภาคสนาม (Site Visit)

                       2.6.6.2  การประเมินเมื่อสิ้นสุดการดำเนินการ

3. ข้อเสนอแนะนโยบายเร่งด่วน

เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายด้านการกระจายอำนาจแบบ CLUSTER เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในการดำเนินงาน จึงมีข้อเสนอแนะเร่งด่วนดังนี้

 1. ควรจัดระบบฐานข้อมูลที่สำคัญภายในกลุ่มเครือข่ายเขตพื้นที่การศึกษา ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

 2. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำเขตตรวจราชการ

 3. ควรกำหนดนโยบายเร่งด่วน หรือ นโยบายสำคัญของรัฐบาลคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แจ้งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายในเขตตรวจราชการ ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ อย่างเร่งด่วน 

 4. ควรกำหนดแนวทาง วิธีการ ขอบเขตการดำเนินการ กำหนดเครื่องมือ ขอบเขตการดำเนินการกลุ่มเป้าหมายระยะเวลา กำหนดการ ที่สนองตอบต่อการตรวจติดตาม นิเทศและประเมินผล

5. ควรแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ในการตรวจติดตามประเมินผลและรายงานผลรวมทั้งการจัดประชุมชี้แจงรายละเอียด เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน

            6. ควรกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการตรวจติดตาม นิเทศ เสนอแนะ ให้คำปรึกษาในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ

            7. ควรจัดทำข้อสรุป การขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วน นโยบายสำคัญ และรายงานผลการดำเนินงาน ทุก 5 วัน ต่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

            8. จัดตั้งศูนย์ประสานงานส่วนกลาง ที่สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

            9. จัดตั้งศูนย์ประสานงานในระบบออนไลน์ ที่สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                            ———————————————————-