Home / ข่าวประชาสัมพันธ์ / ศปบ.จชต.สรุปผลงานรอบ 6 เดือน “6 เดือน ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการศึกษา จชต. สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

ศปบ.จชต.สรุปผลงานรอบ 6 เดือน “6 เดือน ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการศึกษา จชต. สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

954670

ศปบ.จชต.สรุปผลงานรอบ 6 เดือน “6 เดือน ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการศึกษา จชต. สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

***“6 เดือน ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการศึกษา จชต. สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) สรุปผลงานรอบ 6 เดือน ขับเคลื่อนการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษา 20 ปี เน้นใช้การศึกษาแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้
วันพฤหัสบดี 30 มีนาคม 2560 ที่หอประชุมค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย กองพลทหารราบที่ 15 อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2560 รอบ 6 เดือน และแผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) โดยพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการประชุม มีนายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี นายปราโมทย์ แก้วสุข ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการพลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พลตรี ธรรมศักดิ์ วาสะศิริ คณะทำงาน รมช.ศธ.นายนายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมชี้แจงผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน ขับเคลื่อนการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษา 20 ปี
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และความมั่นคง มีอัตลักษณ์ทางด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมแตกต่างจากภูมิภาคอื่นของประเทศ ดังนั้น การจัดการศึกษาจึงต้องคำนึงถึงความลงตัวและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ดังกล่าว เพื่อสนองตอบต่อความต้องการตามวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่และบริบทของการพัฒนาประเทศ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้พื้นที่ 44 อำเภอ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา (4 อำเภอ คือ เทพา จะนะ นาทวี และสะบ้าย้อย) เป็นการจัดการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเชื่อมโยงและบูรณาการงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนและประชาชน ซึ่งสถาบันและสถานศึกษาในพื้นที่มีจำนวนทั้งสิ้น 5,747 แห่ง ผู้เรียน 946,746 คน และครูผู้สอน 75,744 คน สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 กระทรวงศึกษาธิการได้พัฒนาผู้เรียน โดยสร้างศักยภาพทางการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระหลักสังกัด สพฐ.7,758 คน สังกัด สช.7,826 คน และสังกัด กศน. 543 คน การพัฒนาทักษะทางภาษา (ไทย-มลายู-อังกฤษ) สังกัด สอศ.409 คน สังกัด สพฐ. 8,218 คน และสังกัด กศน. 10,616 คน และการส่งเสริมการสอนพระพุทธศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงเรียนในสังกัด สพฐ.313 แห่ง และนอกจากนั้นยังได้เปิดห้องเรียนพิเศษกีฬา (10 ประเภทกีฬา) สพฐ. 8 โรงเรียน และพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังกัด สช.8 แห่ง สังกัด สกอ. 3 แห่ง ด้านการผลิตและพัฒนาศักยภาพครู เช่น การพัฒนาระบบผลิตครูชายแดนภาคใต้ การผลิตบัณฑิตและบุคลากรเฉพาะสาขาที่ขาดแคลนและสาขาที่สร้างความเข้มแข็งของชุมชุน ดำเนินการในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 858 คน การพัฒนาครูโดยเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 136 คน การเพิ่มครูอาสาสมัคร กศน.ประจำสถานศึกษาปอเนาะ จำนวน 399 คน (1คนต่อ1แห่ง) การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชน หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลง สังกัด สช. จำนวน 490 คน และพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สังกัด สพฐ. จำนวน 329 คน ด้านการพัฒนาโรงเรียนและศูนย์การเรียนรู้ โดยพัฒนาศูนย์เรียนรู้แม่ลาน พัฒนาห้องสมุดในโรงเรียนโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 20 โรงเรียน พัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขนาดเล็กสังกัด สช. เพิ่มเงินอุดหนุนจำนวน 199 โรง พัฒนาโรงเรียนประถมและมัธยมระดับอำเภอ สังกัด สพฐ. จำนวน 90 โรงและจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 9 โรงเรียน และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 6 โรงเรียน นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้โดยการอบรมซึ่งดำเนินการโดยศูนย์นวัตกรรมเพื่อการออกแบบหัตถกรรมชายแดนใต้ ศูนย์พัฒนาธุรกิจชายแดนใต้ Southern Border Business Center : SBBC และศูนย์ตาดีกาสัมพันธ์ สำหรับสื่อและช่องทางการเรียนรู้ ได้มีการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV การศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ DLIT และ ETV (สพฐ. DLTV 356 โรงเรียน DLIT 509 โรงเรียน กศน. ETV 416 แห่ง ) เพื่อสร้างโอกาสให้ครูและนักเรียนได้เข้าถึงสื่อเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย แก้ปัญหาความขาดแคลนครูผู้สอน และเพื่อให้ครูสามารถพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้สูงขึ้น
ในเรื่องการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาได้ เปิดสอนหลักสูตรแผนการเรียนวิทย์-กีฬา, ศิลป์-กีฬา 8 โรงเรียน แผนการเรียนศิลป์-ดนตรี 2 โรงเรียน และแผนการเรียนศิลป์-อาชีพ 3 โรงเรียน และในปีการศึกษา 2559 การจัดสรรทุนการศึกษาพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษา โดยแต่ละหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการมีการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อใช้ในการศึกษาต่อ เช่น ทุนการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา(ทุนกีฬา) สังกัด สกอ. จำนวน 92 ทุนๆ ละ 55,000 บาท ทุนการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัด สพฐ. 856 ทุนๆ ละ 40,000 บาท ทุนการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา สังกัด สกอ. 250 ทุนๆละ 40,000 บาท ทุนจูงใจนักเรียนต่างวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 1000 ทุน ทุนคุรุทายาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระดับปริญญาโท 4 ทุน ระดับปริญญาเอก 6 ทุน ทุนภูมิทายาทสังกัด สพฐ. 8,000 ทุน ทุนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสังกัด สป. 6,500 ทุน และทุนการศึกษาในโครงการครัวไทยสู่ครัวโลกมุสลิมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 100 ทุน ส่วนเรื่องการศึกษาเพื่อผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการนั้น ได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนการศึกษาพิเศษในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อจัดการศึกษาที่เหมาะสมให้กับนักเรียนในพื้นที่ และเปิดโอกาสให้นักเรียนเหล่านี้มีสิทธิในการศึกษาที่เท่าเทียมและมีคุณภาพเช่นเดียวกับเด็กพิการในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ รวมทั้ง ได้รับการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง โดยจะให้บริการแก่เด็กที่มีความบกพร่อง 5 ประเภท ความพิการเรื่องนี้สำคัญอีกเรื่อง คือ การผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่และการมีงานทำ กระทรวงศึกษาธิการได้ ส่งเสริมทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทำให้กับนักเรียน นักศึกษา โดยการจัดการเรียนการสอนในศูนย์ฝึกอาชีพประจำอำเภอทั้ง 23 ศูนย์ จำนวน 5,653 คน เพื่อพัฒนาอาชีพ และสร้างสมรรถนะในการแข่งขันให้มีคุณภาพและได้จัดตั้งกลุ่มอาชีพและส่งเสริมทักษะในสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 45 แห่ง มีสมาชิก 945 คน มีการฝึกอบรมอาชีพให้กับนักเรียน โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 550 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 1,055 คน หลักสูตรระยะสั้น 1,610 คน และการจัดการเรียนการสอนอาชีพแบบคู่ขนาน (สอนอาชีพคู่กับเรียนศาสนา) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 332 คน และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 590 คน ความร่วมมือสหกิจศึกษากับต่างประเทศ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ฝึกงาน ณ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศ และส่งเสริมองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ แข่งขันทักษะวิชาชีพ 140 คน สำหรับการฝึกอาชีพสำหรับประชาชน โครงการฝึกอาชีพตามแนวทางโรงเรียนพระดาบสไปแล้ว จำนวน 80 คน และได้การฝึกอาชีพ โดยสถาบันวิทยาลัยชุมชนให้กับประชาชน 3,500 คน ฝึกอบรมอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยกศน. 730 คน นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตยางพาราต้นแบบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและช่วยผลิตเครื่องสีข้าวซ้อมมือให้กับประชาชน นอกจากได้พัฒนาคุณภาพการศึกษาและสร้างโอกาสดังได้กล่าวไปแล้วยังมีการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถดำรงชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข อาทิเช่น
– การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การขจัดความขัดแย้งโดยสันติวิธีบนพื้นฐานความหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
– การศึกษาและพัฒนาเพื่อสร้างชุมชนชายแดนใต้ต้นแบบที่เหมาะสมท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบ 2 ชุมชน โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
– การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบสถานศึกษาเอกชน เช่น เมาลิดสัมพันธ์ ตาดีกาสัมพันธ์ งานวันเด็ก มหกรรมวิชาการ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน และงานวันสำคัญต่างๆ
ส่วนการสร้างเครือข่ายแกนนำเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง (self-esteem), เครือข่ายเยาวชนต้นแบบทำดีดูดี, ค่ายศิลปกรรมศาสตร์ของสถาบันการศึกษาต่างๆ กิจกรรมกีฬาสายสัมพันธ์ชายแดนใต้ของนักศึกษา กศน. ระดับอำเภอและจังหวัด มีนักศึกษาเข้าร่วม 10,937 คน และในขณะนี้ได้เตรียมการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาภาคฤดูร้อน ครอบคลุม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงเดือนเมษายน ก็เป็นกิจกรรมเสริมได้อีกด้วย และในวันที่ 4-8 เมษายน 2560 จะได้จัดให้มีการชุมนุมลูกเสือจังหวัดชายแดนภาคใต้ มากกว่า 5,000 คนณ จังหวัดสตูล ภายใต้การดำเนินงานอย่างมุ่งมั่น ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี ของรัฐบาลที่ต้องการให้เห็นผลในเร็ววัน ด้วยการวางระบบการบริหารจัดการที่ดี มีการมอบหมายหน้าที่กันดูแลในแต่ละด้านและมีการประชุมติดตามงานอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ตามยุทธศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ทำให้งานของกระทรวงศึกษาธิการมีเอกภาพบูรณาการกันทุกภาคส่วน มีผลงานปรากฏในรอบ 6 เดือน อย่างเป็นรูปธรรมดังกล่าวข้างต้น นี่คือภาพแห่งความสำเร็จในการให้การศึกษาเป็นส่วนสำคัญต่อการศึกษาพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
ทิพวรรณ ข่าว อัฉลา ภาพ