การประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มสมรรถนะเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและมุ่งผลสัมฤทธิ์ในส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สพฐ.

สพฐ. เดินหน้าเพิ่มสมรรถนะงานบุคคล เน้นสร้างระบบโปร่งใส ตอบโจทย์จริงในพื้นที่

วันที่ 17 กรกฎาคม 2568 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มสมรรถนะเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและมุ่งผลสัมฤทธิ์ในส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมี ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ปฏิบัติงานบุคคลใน สพฐ. (ส่วนกลาง) จำนวน 285 คน เข้าร่วม ณ โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลในส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารงานบุคคลของ สพฐ. มีความรู้ความเข้าใจบทบาทภารกิจการบริหารงานบุคคล มีค่านิยม วิสัยทัศน์ ทัศนคติ วัฒนธรรมองค์กร และความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายที่เข้มแข็ง พร้อมขับเคลื่อนการบริหารงานบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงพัฒนาสมรรถนะ ทักษะและศักยภาพการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษา และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารงานบุคคลใน สพฐ. (ส่วนกลาง) ให้สามารถรองรับการขับเคลื่อนนโยบายตามประเด็นกลยุทธ์การบริหารงานบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการเสริมสร้างขวัญ กำลังใจ และสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดี ในด้านการบริหารงานบุคคล ร่วมกับองค์กรและสายงานการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา กล่าวว่า ทิศทางการบริหารงานบุคคลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของ สพฐ. ต้องคำนึงถึงบริบทที่หลากหลาย ทั้งบริบทของการศึกษาไทย ซึ่งมีจุดเปลี่ยนที่ต้องตระหนัก นั่นคือ โลกเปลี่ยน คนการศึกษาต้องพร้อม โดยเฉพาะในปี 2568 คือปีแห่งการเปลี่ยนผ่านของการศึกษาขั้นพื้นฐานในหลายมิติ รวมถึงบริบทโลก ที่มีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำงาน เช่นเดียวกับบริบทสังคมไทย ที่มีแนวโน้มอัตราการเกิดลดลง เด็กเกิดน้อยลง โรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้น รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ส่งผลต่อเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา (Zero Dropout) ขณะที่จำนวนข้าราชการครูและบุคลากร ยังไม่สัมพันธ์กับภาระงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็กและพื้นที่ห่างไกล เพราะถึงแม้โลกเปลี่ยน เด็กเปลี่ยน แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือความคาดหวังของสังคมต่อโรงเรียน

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *