โครงสร้างกลุ่มเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารบุคคล
หน้าที่ความรับผิดชอบดำเนินงาน ดังนี้
– ศึกษาวิเคราะห์กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติที่กึ่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ด้านการสร้างเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล
1. งานเลื่อนเงินเดือน
– กำหนดหลักเกณฑ์/แนวปฏิบัติในการเลื่อนขั้นเงินเดือน/ค่าจ้าง/ค่าตอบแทนพนักงานราชการ/เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว/การจัดสรรโควตาและวงเงินและหลักเกณฑ์/วิธีการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของ สพร.
– ดำเนินการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน/เงินรางวัลประจำปี และออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน/เงินรางวัลในภาพรวมของ สพฐ.
– ควบคุม กำกับ ดูแล การใช้โควตาและวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนของ สพท./สพฐ.
– ดำเนินการเสนอขออนุมัติเลื่อนขั้นเงินเดือน/ค่าจ้าง เป็นกรณีพิเศษ ให้แก่ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
– จัดประชุมเชิงปฏิบัติการและเป็นวิทยากร เพื่อพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ กฎ ระเบียบใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ ให้กับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติของ สพท. ทุกเขตพื้นที่
– ให้คำปรึกษา แนะนำ และตอบข้อหารือเกี่ยวกับงานในหน้าที่ รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และประสานงานกับส่วนราชการ ทั้งภายในและภายนอกสังกัด
– ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
2. งานจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน/ค่าจ้างประจำ/เงินประจำตำแหน่ง/เงินวิทยฐานะ
– กำหนดหลักเกณฑ์/แนวปฏิบัติในการจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือน/เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัด ประจำปีและเพิ่มเติมระหว่างปี
– ขอความเห็นชอบให้ตำแหน่งที่กำหนดเป็นตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
– การควบคุมการใช้เงินเดือน/ค่าจ้างประจำ เหลือจ่ายของ สพฐ.
– การออกหนังสือรับรองเงินเดือน/ค่าจ้างประจำเหลือจ่าย การขออนุมัติจ่ายเงินเดือนระหว่างถูกพักราชการ เมื่อคดีหรือกรณีถึงที่สุดแล้ว ปรากฏว่าถูกลงโทษไม่ถึงให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
– การจัดทำระบบฐานข้อมูล เพื่อการควบคุม กับ ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
– ให้คำปรึกษา แนะนำ และตอบข้อหารือเกี่ยวกับงานในหน้าที่ รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และประสานงานกับส่วนราชการ ทั้งภายในและภายนอกสังกัด
– ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
3. งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
– กำหนดหลักเกณฑ์/แนวปฏิบัติในการดำเนินการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ (หมวดฝีมือ) พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
– การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ศาสนา และประชาชน
– การขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ให้แก่ข้าราชการ พนักงานในสังกัดที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติ
– การออกหนังสือรับรองแสดงรายการบริจาคทรัพย์สิน (นร.2)
– การจัดสรร/การรับ-จ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และการส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นรอง
– การรับ-การส่งเงินชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
– การรับ-การจัดส่งประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
– การขอแก้ไขราชกิจจานุเบกษาและประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
– การตรวจสอบและรวบรวมจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการจ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ส่งสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
– การจัดทำทะเบียนประวัติผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประกาศนีบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รวมทั้งการส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นรอง
– เป็นผู้แทนกลุ่มงาน/กลุ่ม/สำนัก/สพฐ. ในคณะกรรมการหรือคณะทำงานเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ
– ให้คำปรึกษา แนะนำ และตอบข้อหารือเกี่ยวกับงานในหน้าที่ รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และประสานงานกับส่วนราชการ ทั้งภายในและภายนอกสังกัด
– ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
4. งานทะเบียนประวัติ
– การจัดทำทะเบียนประวัติของข้าราชการและลูกจ้างประจำ การพัฒนาข้อมูลในทะเบียนประวัติ
– การขอแก้ไขวันเดือนปีเกิด
– การควบคุมการเกษียณอายุราชการ
– การจัดทำระบบฐานข้อมูลทะเบียนประวัติ
– การจัดพิมพ์ การจัดสรร บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และบัตรประจำตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ให้หน่วยงานในสังกัด
– การออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดส่วนกลาง และบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 ในสังกัด
– ออกหนังสือรับรองต่างๆ และการออกหนังสือแสดงความเสียใจกรณีข้าราชการถึงแก่กรรม
– การขอพระราชทานเพลิงศพ
– การขออนุญาตให้ข้าราชการไปร่วมกิจกรรมกีฬาของชาติ ณ ต่างประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรี
– การลาไปประกอบพิธีฮัจย์ และการลาอุปสมบท
– การขออนุญาตไปต่างประเทศกรณีต่าง ๆ โดยใช้วันลาตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการหรือระหว่างวันหยุดราชการ
– การลาป่วยตาม พ.ร.บ.สงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือการเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติราชการ
– การลาป่วยต่อเนื่องเกิน 120 วัน และการขออนุญาตเบิกจ่ายเงินเดือนระหว่างลา ในส่วนที่ลาเกิน 60 วันทำการในปีงบประมาณที่ลา
– การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร
– การลาติดตามคู่สมรสซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในต่างประเทศ
– การขอหยุดราชการอันเนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นจนเป็นเหตุขัดขวางทำให้ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้
– การขอมีหรือขอเปลี่ยนบัตรเหรียญพิทักษ์เสรีชน และเหรียญราชการชายแดน
– งานกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (กสจ.)
– งานฐานข้อมูลบุคคลภาครัฐ (ค่ารักษาพยาบาลจ่ายตรง) ในฐานะนายทะเบียนของส่วนราชการ
– งานมาตรการบริหารกำลังคนภาครัฐ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด)
– ให้คำปรึกษา แนะนำ และตอบข้อหารือเกี่ยวกับงานในหน้าที่ รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และประสานงานกับส่วนราชการ ทั้งภายในและภายนอกสังกัด
– ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย