นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 11/2559 เมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2559 ว่าที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้
● เห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน กรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
-
ให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือก
-
กำหนดสัดส่วนจำนวนตำแหน่งว่าง เพื่อใช้ในการคัดเลือก ร้อยละ 60 และการสอบแข่งขัน ร้อยละ 40
-
ตำแหน่งที่ใช้คัดเลือกต้องเป็นตำแหน่งว่างที่มีอัตราเงินเดือน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือในสถานศึกษา ที่อยู่ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนั้น ๆ ทั้งนี้ ตำแหน่งว่างดังกล่าวต้องเป็นตำแหน่งตามกรอบอัตรากำลังที่ ก.ค.ศ. กำหนด
-
ผู้มีสิทธิ์สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
– เป็นพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราวจากเงินงบประมาณ หรือเงินรายได้ของหน่วยงานการศึกษา ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับลักษณะงานของตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ในหน่วยงานการศึกษา สังกัด สพฐ. ตามคำสั่งหรือสัญญาจ้างหรือเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี นับถึงวันรับสมัครคัดเลือกวันสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้
– มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามมาตรฐานตำแหน่งข้าราชครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
– มีประสบการณ์ในตำแหน่งที่สมัครเข้ารับการคัดเลือกไม่น้อยกว่า 4 ปี
– มีสิทธิ์สมัครเข้ารับการคัดเลือกได้เพียงตำแหน่งเดียว และจังหวัดเดียว หากปรากฏว่าผู้สมัครคัดเลือกสมัครเกินกว่า 1 ตำแหน่ง หรือเกินกว่า 1 จังหวัด จะถูกตัดสิทธิ์การคัดเลือกทั้งหมด -
ให้ สพฐ. เป็นผู้กำหนดวัน เวลา ที่คัดเลือก โดยให้ดำเนินการคัดเลือกพร้อมกัน
-
กำหนดให้ทดสอบ 3 ภาค คือ ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป ภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง และภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยให้สอบภาค ก และภาค ข ก่อน แล้วจึงให้ผู้ที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์เข้ารับการประเมิน ภาค ค
-
ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องได้คะแนนแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
-
ให้บรรจุและแต่งตั้ง ผู้ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ตามจำนวนตำแหน่งว่างที่ประกาศรับสมัครโดยไม่มีการขึ้นบัญชี กรณีมีผู้ผ่านการคัดเลือกไม่ครบตามตำแหน่งที่ประกาศให้บรรจุเท่าที่คัดเลือกได้
-
ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานการศึกษา ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี จึงจะมีสิทธิ์ขอย้าย หรือขอโอน
-
กรณีตรวจสอบภายหลังพบว่าผู้ ได้รับการคัดเลือกรายใดเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด หากได้รับการบรรจุและแต่งตั้งแล้ว จะถูกเพิกถอนคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งทันที
-
ให้ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือก โดยกำหนดวัน เวลาในการดำเนินการคัดเลือก และจำนวนตำแหน่งว่างเพื่อใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งครั้งแรก
-
ให้ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศรับสมัครคัดเลือก ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันรับสมัคร
-
ให้สำนักงาน กศน. รับสมัครคัดเลือกไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ โดยยื่นสมัครตามแบบหรือวิธีการที่ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
-
ผู้มีสิทธิ์สมัครเข้ารับการคัดเลือก ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
– เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สำนักงาน กศน.
– มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
– ดำรงตำแหน่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่ารองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ หรือ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ หรือ ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าศึกษานิเทศก์เชียวชาญ หรือ ดำรงตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำว่าหัวหน้ากลุ่มหรือผู้อำนวยการกลุ่ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอันดับ คศ.3 หรือไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการพิเศษ
– มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
– ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี -
ผู้มีสิทธิ์สมัครเข้ารับการคัดเลือก ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
– เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สำนักงาน กศน.
– มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
– ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับ คศ.4 หรือดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
– มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
– ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี -
ดำเนินการคัดเลือกโดยการประเมิน 2 ภาค คือ ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป และภาค ข ความเหมาะสมกับตำแหน่ง ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องได้คะแนนภาค ก และภาค ข แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยเรียงลำดับจากผู้ที่ได้คะแนนรวม สูงสุดจากมากไปหาน้อย
-
บัญชีผู้ได้รับการคัดเลือก ให้มีอายุบัญชีไม่เกิน 1 ปี
-
ในกรณีผู้ได้รับการคัดเลือกรายใดถึงลำดับที่ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งแล้ว แต่ปรากฏว่าผู้ได้รับการคัดเลือกรายนั้นไม่มารายงานตัว เพื่อรับการบรรจุและแต่งตั้ง ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด หรือไม่สมัครใจที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง หรือมารายงานตัวแต่ไม่เลือกหน่วยงานการศึกษาที่จะบรรจุและแต่งตั้ง หรือแจ้งสละสิทธิ์การบรรจุและแต่งตั้ง กรณีใดกรณีหนึ่ง ให้เรียกตัวผู้ที่อยู่ในลำดับถัดไปมารายงานตัวเพื่อรับการบรรจุและแต่งตั้งแทน
-
ต้องเป็นคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และกำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
-
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้นั้น ต้องได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น ภายหลังวันที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นต้องเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
-
คุณวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น ต้องเป็นคุณวุฒิในสาขาวิชาเดียวกันกับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี และหรือระดับปริญญาโทที่ใช้ในการบรรจุและแต่งตั้ง หรือเป็นคุณวุฒิที่ตรงกับสาขา หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผู้นั้นได้ทำการสอน หรือเคยทำการสอน เป็นคุณวุฒิที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน หรือส่งเสริมการเรียนรู้ตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนดโดยความเห็นขอบของ ก.ค.ศ.
-
ให้มีผลบังคับใช้กับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อภายหลังจากหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ประกาศใช้ โดยไม่มีผลกระทบกับผู้ที่ได้เข้ารับการศึกษาและได้รับอนุมัติปริญญาก่อนวันประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการนี้
-
คุณสมบัติในการขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ ตามหลักเกณฑ์ ว17/2552
– ดำรงตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี 4 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาโท และ 2 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาเอก หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า และผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
– ทั้งนี้ วุฒิดังกล่าวต้องเป็นวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และเป็นวุฒิในสาขาวิชาเดียวกับวุฒิระดับปริญญาตรีและหรือปริญญาโทที่สำเร็จการศึกษามาแล้ว หรือเป็นวุฒิที่ตรงกับสาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผู้ขอได้ทำการสอน หรือส่งเสริมการเรียนรู้ตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด โดยความเห็นชอบของ ก.ค.ศ. -
คุณสมบัติในการขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ ตามหลักเกณฑ์ ว10/2554
– ดำรงตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี 2 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาโท และ 1 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาเอก หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า และผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
– ทั้งนี้ วุฒิดังกล่าวต้องเป็นวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และเป็นวุฒิในสาขาวิชาเดียวกับวุฒิระดับปริญญาตรีและหรือปริญญาโทที่สำเร็จการศึกษามาแล้ว หรือเป็นวุฒิที่ตรงกับสาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผู้ขอได้ทำการสอน หรือส่งเสริมการเรียนรู้ตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด โดยความเห็นชอบของ ก.ค.ศ. -
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือน ในกรณีที่ได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น
-
เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 เพิ่มเติม 1 อัตรา เป็นตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 สังกัด สพฐ.
-
เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เพิ่มเติม 3 อัตรา เป็นตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 1 อัตรา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 จำนวน 1 อัตรา และตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 จำนวน 1 อัตรา
โดยให้จัดสรรในหน่วยงานการศึกษาที่มีกรอบอัตรากำลังไม่เกินกรอบอัตรากำลังหรือเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังที่ ก.ค.ศ. กำหนด และเป็นไปตามเงื่อนไขที่ คปร.กำหนด โดยเคร่งครัด และให้นำเสนอ ก.ค.ศ. เพื่อพิจารณาต่อไป
-
ต้องดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวในสถานศึกษาปัจจุบันติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 24 เดือน นับถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีที่ยื่นคำร้องขอย้าย เพื่อให้มีระยะเวลาในการพัฒนาสถานศึกษาให้เห็นผลเป็นที่ประจักษ์
-
ไม่อยู่ในระหว่างลาศึกษาต่อเต็มเวลา
-
กรณีการย้ายสับเปลี่ยน นอกจากมีคุณสมบัติตาม ข้อ 1 แล้ว ในวันที่ยื่นขอย้ายต้องเป็นผู้ที่มีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน นับถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีที่ครบเกษียณอายุราชการ
ทั้งนี้ คุณสมบัติของผู้ยื่นคำร้องขอย้ายที่ปรับปรุงใหม่นี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จะยื่นคำร้องขอย้าย ประจำปี พ.ศ.2560 เป็นต้นไป
ดรุวรรณ บุญมาก, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงาน ก.ค.ศ.: ถ่ายภาพ
28/11/2559