สพฐ.เปิดห้องเรียนเรียนดนตรีสร้างเส้นทางสู่อุดมศึกษา ณ ห้องประชุมพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
***(7 พฤษภาคม 2560) ณ ห้องประชุมพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีชาวยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานแถลงข่าวโครงการห้องเรียนดนตรีและการจัดกิจกรรมนำเสนอผลงานของนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์ด้านดนตรีและนาฏศิลป์รมช.ศธ.กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้ให้การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษในหลายรูปแบบตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียน และด้วยสภาวะการในภาคใต้ ยังคงมีความรุนแรงอยู่ในบางพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลถึงสภาพจิตใจและอารมณ์ของผู้คน และควรได้รับการช่วยเหลือฟื้นฟู ให้มีความเข้มแข็งทั้งด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา โดยกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแล้วว่า ศิลปะและดนตรีเป็นวิชาที่จะช่วยกล่อมเกลาจิตใจ สามารถสร้างคนให้เป็นคนดีมีจิตใจอ่อนโยนและเป็นสื่อในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม ขณะที่โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายโรงเรียน ก็ให้การสนับสนุนนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี ให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างทัดเทียมกับนักเรียนในภูมิภาคอื่นๆ กระทรวงศึกษาธิการจึง ส่งเสริมให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสได้รับการศึกษาตามความสนใจและความถนัด ส่งต่อให้เรื่องรับการศึกษาด้านดนตรีในระดับอุดมศึกษา รวมสั่งสร้างแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต โดยได้คัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อม และอนุมัติให้เป็นห้องเรียนดนตรีจำนวน 3 โรงเรียนประกอบด้วย โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง จังหวัดยะลา โรงเรียนสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการ ห้องเรียนดนตรีสำหรับโรงเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้วางแผนการดำเนินการในระยะแรก เพื่อให้โรงเรียนทั้ง 3 แห่ง สามารถจัดการเรียนการสอนได้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 และเปิดห้องเรียนดนตรีในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน แผนการเรียนวิทย์-ดนตรี และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน แผนการเรียนศิลป์-ดนตรี โดย โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี สามารถรับนักเรียน ม.1 ได้ 37 คน ม.4 รับได้ 13 คน โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง จังหวัดยะลา ม.1 รับได้ 41 คน ม.4 รับได้ 20 คน โรงเรียนสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ม.1 รับได้ 19 คน ม.4 รับได้15 คน โดยพบว่า โรงเรียนอย่างมีความต้องการอัตรากำลังเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอน และพัฒนาทักษะด้านดนตรีของนักเรียน ได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งในระยะแรก ควรมีครูอัตราจ้างไม่เกิน 5 คน ทำหน้าที่การสอนในรายวิชาดนตรีตามหลักสูตร และสอนดนตรีตามกลุ่มเครื่องดนตรีของวงโยธวาทิต เช่น กลุ่มเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และ เครื่องจังหวะ ขณะที่ สพฐ. จะจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าครุภัณฑ์ดนตรีให้โรงเรียนทั้ง 3 แห่ง โดยจะพิจารณาจัดซื้อเครื่องดนตรีในวงโยธวาทิตเป็นหลัก พร้อมทั้งให้การสนับสนุน อัตรากำลังเพิ่มเติม อีกทั้งยังได้วางแผนสร้างเครือข่าย
กับมหาวิทยาลัยทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่เปิดสอนสาขาดนตรี โดยจะพัฒนาสู่การทำข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อส่งนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ต่อไป
สุชาติ ภาพ/บรรพต ข่าว