พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.ต.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นางรัตนา ศรีเหรัญ และ ม.ล.ปริยดา ดิศกุล ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา และตัวแทนผู้บริหารองค์กรหลัก รับฟังแผนการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2559 โดยมีนายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นำเสนอผลการดำเนินงานปีงบประมาณที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินงานของ สช. ในปีงบประมาณนี้
นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กช. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือ สช. มีสถานศึกษาในสังกัด 2 ประเภท คือ 1) โรงเรียนในระบบประเภทสามัญศึกษา จำนวน 3,845 แห่ง ซึ่งได้รับอนุญาตให้เปิดทำการเรียนการสอน โดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโรงเรียนในระบบประเภทนานาชาติ ซึ่ง
ภารกิจที่สำคัญของโรงเรียนเอกชน นอกจากช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของรัฐบาลแล้ว ยังได้มุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่านักเรียนในโรงเรียนเอกชนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีในการสอบวัดผลระดับชาติ อาทิ คะแนนเฉลี่ย O-NET ในวิชาต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ที่สูง มีเพียงบางวิชาเท่านั้นที่คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ
สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 สช.ได้
-
การปรับปรุงอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนโรงเรียนเอกชน โดยศึกษาแนวทางการให้เงินอุดหนุนเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาเอกชน
-
การเสริมสร้างคุณภาพโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก ด้วยการพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัย, ผู้บริหารและครูผู้สอน ตลอดจนศึกษาแนวทางการอุดหนุนและช่วยเหลือ
-
การลดหย่อนผ่อนปรนภาษีโรงเรือนและที่ดินของสถานศึกษา โดย สช. จะประสานกับสมาคมเพื่อรวบรวมข้อมูลและมีหนังสือถึงสำนักงานกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาแนวทางการลดหย่อนภาษี
-
การยกระดับคุณภาพภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนเอกชน ด้วยการปรับกระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสาร และจัดส่งบุคลากรเข้าอบรม Boot Camp
-
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนเอกชน เน้นการศึกษาแบบ STEM Education โดยจะมีโรงเรียนแกนนำด้าน STEM Education จังหวัดละ 2 ศูนย์ และขยายผลต่อไปยังโรงเรียนอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า บทบาทของ สช. คือทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุม (Regulator) หรือดูแลสถานศึกษาในสังกัดที่ได้รับใบอนุญาต และจากการประชุมร่วมกันในครั้งนี้ สช.ได้รับฟังข้อคิดเห็นจากที่ประชุม ซึ่งจะปรับแผนยุทธศาสตร์ใหม่ โดยเน้น 2 ยุทธศาสตร์
1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาเอกชน ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายแนวทาง ตัวอย่างเช่น
– ให้ครูเอกชนเข้าร่วมโครงการตรวจเลือดครู พร้อมกับครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในระดับชั้น ม.1-ม.3 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อจะได้ทราบว่าครูยังอ่อนอะไร เพื่อทำการพัฒนาได้ตรงจุด
– การส่งรายชื่อโรงเรียนเอกชนไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อเข้าร่วมโครงการมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง เพื่อให้มหาวิทยาลัยในแต่ละพื้นที่เข้ามาช่วยเป็นพี่เลี้ยงและให้ความช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนไปพร้อมกับโรงเรียน สพฐ.
2) ยุทธศาสตร์การรักษามาตรฐานการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน สช.สามารถดำเนินการเพื่อรักษามาตรฐานการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนได้ อาทิ
– การตรวจสอบโรงเรียนกวดวิชาในสังกัดเกี่ยวกับการเสียภาษี
– ส่งเสริมระบบการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ด้วยการปรับปรุงและพัฒนาระบบสารสนเทศศึกษาเอกชน และการจัดการเงินอุดหนุน (PSIS) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่กำลังดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูล (Database) เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการศึกษาจากทุกหน่วยงานในสังกัด เพื่อทำให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนและได้ข้อมูลที่เป็นจริง โดยถือเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการก่อน
นอกจากนี้ ขอให้ สช. พิจารณาหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตจัดตั้งสถานศึกษาเอกชนใหม่ ซึ่งแต่เดิมสถานศึกษาต้องมีความพร้อมทุกด้านก่อน ถึงจะได้รับใบอนุญาตและเปิดทำการเรียนการสอนได้ จึงขอให้ทบทวนดูว่าจะสามารถให้ใบอนุญาตจัดตั้งสถานศึกษาแบบมีเงื่อนไขได้หรือไม่ เช่น ไม่ต้องรอให้สถานศึกษาสร้างอาคารเรียนเสร็จก่อน จึงมาขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานศึกษา แต่ควรพิจารณาว่าหากสถานศึกษาใดมีความพร้อมก็สามารถให้ใบอนุญาตได้ แม้จะยังสร้างอาคารเรียนไม่เสร็จก็ตาม โดยอาจจะยังไม่อนุญาตให้สถานศึกษาเปิดทำการเรียนการสอนจนกว่าอาคารเรียนและความพร้อมด้านอื่น ๆ จะสมบูรณ์
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า นโยบายทุกเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการ สถานศึกษาเอกชนส่วนใหญ่จะได้รับอานิสงส์ด้วยทั้งหมด พร้อมทั้งย้ำถึงการขับเคลื่อนงานการศึกษาเอกชนด้วยว่า ขอให้ สช.ให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกคนในองค์กร จึงต้องให้ความสำคัญในการเข้ามาดูแลและแก้ไขปรับปรุงระบบการทำงาน เพราะบุคลากรเหล่านี้จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนงานต่อไป และขอให้ทุกท่านตั้งจิตให้มั่นในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การทำงาน เพื่อร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับการศึกษาเอกชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงจัดสรรเงินอุดหนุนลงไปให้เท่านั้น
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า สช. มีโรงเรียนในสังกัดที่สำคัญ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) โรงเรียนกวดวิชา
อรพรรณ ฤทธิ์มั่น, บัลลังก์ โรหิตเสถียร : สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี : ถ่ายภาพ
3/11/2559