นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า จากการที่
กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเรื่องการศึกษาของประเทศ เล็งเห็นถึงประโยชน์ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดทำโครงการโรงเรียนประชารัฐ และจัดทำบันทึกข้อตกลงสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ เพื่อร่วมขับเคลื่อนและยกระดับการศึกษาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
โรงเรียนประชารัฐ เป็นโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจาก สพฐ. มาจากทุกตำบลในประเทศไทย ตำบลละ 1โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 7,424 โรงเรียน และได้แบ่งการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนประชารัฐเป็นระยะๆ โดยในระยะแรกได้ดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนจากหลายสังกัด จำนวน 3,322 โรงเรียน เพื่อเข้ารับการพัฒนา แบ่งเป็น
– โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 3,093 โรงเรียน
– โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 184 โรงเรียน
– โรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 31 โรงเรียน
– และโรงเรียนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายเเดน จำนวน 14 โรงเรียน
เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนประชารัฐ เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้ สพฐ.จึงจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อชี้แจงภาพรวมการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนประชารัฐ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น 225 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้ชี้แจงทำความเข้าใจให้ผู้อำนวยการ
ทั้งนี้ ภายหลังการคัดเลือกโรงเรียนและลงนามความร่วมมือในครั้งนี้แล้ว ก็จะมีการพัฒนาเว็บไซต์ของโรงเรียนประชารัฐ และการวางแผนอุปถัมภ์โรงเรียนจากภาคเอกชน จากนั้นจะมีการอบรมผู้อำนวยการ
ทั้งนี้ ในการจัดวางตัวบุคคลที่จะเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
–
– ยุทธศาสตร์จุดเน้นการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะกรอบแนวคิดการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต และโครงการสำคัญที่ต้องขับเคลื่อน 65 โครงการ
– นโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการที่ดำเนินการต่อเนื่อง เช่น ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้, การอ่านออกเขียนได้, DLTV, DLIT, STEM Education, การยกระดับมาตรฐานทักษะภาษาอังกฤษ, การแนะแนวด้านอาชีพในโรงเรียน สพฐ., โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น, การใช้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงให้โรงเรียน สพฐ., การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย ICT, การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก, การบริหารครูและบุคลากรทางการศึกษา, การปรับระบบทดสอบ, โครงการโรงเรียนประชารัฐ เป็นต้น
ขอบคุณข่าวจาก เว็บไชต์ กระทรวงศึกษาธิการ http://www.moe.go.th/websm/2016/mar/102.html