พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ทำหน้าที่ ได้ขยับตัวเพื่อปฏิรูปการศึกษาไปหลายเรื่อง พร้อมทั้งได้สร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ
ในการประชุมครั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบให้
ดังนั้น
2. หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
3. ระบบงบประมาณและทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4. ระบบตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา
5. ระบบสื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
6. พัฒนาระบบการผลิต การสรรหา และการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
7. ระบบการบริหารจัดการ
8. สร้างโอกาสทางการศึกษา
9. พัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
10. การวิจัยเพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้ การดำเนินการตาม 10 ยุทธศาสตร์ดังกล่าว มีจุดเน้นที่จะต้องขับเคลื่อนงานไปพร้อมกันทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ด้านการผลิตและพัฒนาครู ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนและงานวิจัย ด้านการประเมินและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา และด้านการบริหารจัดการ
ของกระทรวงศึกษาธิการ
1.
เลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ประเทศไทยมีอัตราการเข้าเรียนระดับประถมศึกษาร้อยละ 96 ของจำนวนประชากรวัยเรียนทั้งหมด ใกล้เคียงกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน ส่วนญี่ปุ่นมีอัตราเข้าเรียนร้อยละ 100, ในขณะที่ World Economic Forum ได้ประเมินตามตัวชี้วัดเสาหลักที่ 5 การอุดมศึกษาและการฝึกอบรม (Higher Education and Training) (ภาพรวมการอุดมศึกษาและการฝึกอบรม) พ.ศ.2558-2559 ซึ่งเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับ 140 ประเทศ พบว่าไทยอยู่อันดับที่ 56 สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ยกเว้นมาเลเซียที่ได้อันดับที่ 36 และสิงคโปร์ที่เป็นอันดับ 1 ของโลกจากการประเมินในปีนี้
ด้านการเข้าถึงการศึกษา ตัวอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ จากการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 9 (9th ASEAN Education Ministers Meeting) ระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2559 ที่ประเทศมาเลเซีย ได้ประกาศปฏิญญาอาเซียนเรื่องเด็กที่ไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาและเด็กออกนอกระบบการศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะเน้นไปที่การแก้ปัญหาเด็กไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาและเด็กตกหล่นเช่นกัน โดยจะมี Mapping ข้อมูลการจัดการศึกษาระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษา เพื่อให้ทราบข้อมูลเด็กตกหล่น เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบต่อไป
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าจำนวนเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา ป.1 ปีการศึกษา 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 633,852 คน ในขณะที่ตัวเลข
นอกจากนี้ จะมีการจัดทำระบบบูรณาการแก้ปัญหาเด็กออกกลางคันและเด็กตกหล่นอย่างเป็นระบบภายใน 6 เดือน (ตามภาพ)
ในส่วนของการดูแลเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาส) ได้จัดการศึกษาแบบโรงเรียนเฉพาะ 48 แห่ง จำนวน 15,000 คน, การจัดการเรียนรวม จำนวน 300,000 คน และศูนย์การเรียน 77 แห่ง จำนวน 15,000 คน ครอบคลุมผู้เรียนจำนวน 341,000 คน
ทั้งนี้
ส่วนโรงเรียนอื่นๆ ทั่วไป ได้ให้ทุกโรงเรียนสามารถเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีคุณภาพ ขณะนี้ได้นำระบบ DLIT เข้ามาใช้ในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 15,553 โรงเรียน
นอกจากนี้ จะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบ
2. ภายใน 5 ปี : ส่งเสริมให้ครูใช้ศักยภาพในการสอนอย่างเต็มที่
สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ สภาพแวดล้อมทางการศึกษาของอาเซียน โดยพิจารณาใน 3 ส่วน คือ "ห้องเรียน" บางแห่งถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19, ส่วน "ครูผู้สอน" ผลิตมาจากหลักสูตร
อีกตัวอย่างที่สำคัญที่ได้ดำเนินการคือ การยกระดับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ซึ่งจะมีการทดสอบเพื่อประเมินคุณภาพครูผู้สอน
ประเด็นถัดไปสำหรับการส่งเสริมศักยภาพครู คือ "การใช้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง" โดยกำหนดให้โรงเรียน สพฐ. จำนวน 10,947 แห่ง เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศลงไปช่วยพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ต่างๆ ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น 9 เครือข่าย
นอกจากนี้ ยังมีโครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED (Leadership Program for Sustainable Education) ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ซึ่งเป็นโครงการที่ผู้นำรุ่นใหม่จำนวน 1,000 คน จาก 12 องค์กรภาคเอกชนที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ จะทำหน้าที่ 2 ประการ คือ เป็น School Partners ให้กับสถานศึกษาทั่วประเทศ ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมและดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ ซึ่ง School Partners ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนทั่วประเทศ มีหลักการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ 1) สนับสนุนการดำเนินงานของผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ (Enable) 2) ร่วมเสนอแนวทางพัฒนาโรงเรียนเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน (Enhance) 3) สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน (Engage)
อีกทั้งจะมีผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชนทำหน้าที่เป็น School Sponsor โดยให้ข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์ รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐที่เข้าร่วมโครงการในปีแรกนี้จำนวน 3,342 โรงเรียน และคาดว่าจะขยายผลการดำเนินโครงการไปยัง 7,424 โรงเรียนทุกตำบลทั่วประเทศ ภายในปี 2561
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมประเด็นประชารัฐนี้ด้วยว่า เป็นโครงการที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญ เพราะทนไม่ได้หากจะมีการผลิตคนไม่มีคุณภาพออกไปอีก อันจะส่งผลถึงการแข่งขันของประเทศในอนาคตด้วย จึงได้ร่วมสนับสนุนโครงการ แต่ก็ย้ำให้โรงเรียนดำเนินการเรื่องเงินบริจาคให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่าโครงการประชารัฐด้านต่างๆ ของรัฐบาล จะเป็นโมเดลที่สำคัญหนึ่งของโลก เพราะปัจจุบันหลายประเทศให้ความสนใจมาก เช่น ประเทศมาเลเซีย
3.
ภายใน 2 ปี : จะทำครูให้มีครูประจำชั้นครบทุกห้อง
ภายใน 5-10 ปี : จะทำให้ครูตรงสาขา
จากข้อมูลจำนวนโรงเรียนในปัจจุบัน เมื่อแยกตามขนาดห้องเรียน ทำให้เห็นว่าไทยมีโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 15,577 โรงเรียน ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน จำนวน 1,072 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนที่มีนักเรียน 0 คน จำนวน 207 แห่ง ครู 230 คน ซึ่งเมื่อไม่มีนักเรียนเรียนแล้ว ก็จำเป็นต้องเกลี่ยครูไปช่วยราชการในโรงเรียนอื่นที่มีความขาดแคลนหรือครูไม่ครบชั้น
หากมองไปที่ภาพรวมครู จะเห็นว่าอัตรากำลังกับการบรรจุจริงของ สพฐ. ยังคงเหลื่อมล้ำกันมาก ระหว่างครูสังกัด สพป. กับ สพม. และ สศศ.
นอกจากนี้ จะใช้การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยเริ่มต้นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 20 คนจำนวน
4
จึงเป็นที่มาของโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งเน้นให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในปีแรกจำนวน 4,100 โรงเรียน ได้จัดกิจกรรมที่เน้น 4H คือ Head Heart Hand Health โดยสิ่งสำคัญคือ
ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการโครงการมาระยะหนึ่ง จึงได้มีการประเมินเปรียบเทียบผลการสอบ O-NET ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ กับโรงเรียนที่ไม่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งผลประเมินทำให้เห็นชัดเจนว่า แม้จะมีเวลาเรียนในห้องเรียนลดลง แต่ผลจากการปรับโครงสร้างและกระบวนการสอนของครู ทำให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีผลทดสอบสูงกว่าทุกรายวิชาในระดับชั้น ป.6 และ ม.3 ยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษเท่านั้น
สำหรับการประเมินผลการดำเนินงานโครงการนั้น ได้นำ AAR มาใช้ (After Action Review : AAR) ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในวงจรการทำงาน เป็นการทบทวนวิธีการทำงานทั้งด้านความสำเร็จ ข้อค้นพบ และปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำผลจากการประเมินในปีแรก มาดำเนินการในระยะต่อไป
5
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดำเนินงาน STEM Education (สะเต็มศึกษา) แบบ "ต่างคนต่างทำ" มากถึง 7 หน่วยงาน คือ
-
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 13 ศูนย์ (91 โรงเรียน)
-
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ 17 โรงเรียน (รับผิดชอบเฉพาะห้องเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง)
-
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 24 โรงเรียน
-
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัย
-
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) 118 โรงเรียน
-
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดำเนินงานเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนทั้งหมด 147 โรงเรียน (ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้)
-
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 5 โรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ เห็นว่าเพื่อให้การเรียนการสอนสะเต็มศึกษา สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงมีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รวม 3 คณะ ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป 37/2559 เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะอำนวยการการจัดการเรียนการสอน พัฒนาหลักสูตร และขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอน โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา และกำหนดกิจกรรมสะเต็มศึกษา ระดับชั้น ป.1 – ม.6 ดังนี้
สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินการ ขณะนี้ได้มีการปรับปรุงคู่มือกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับครูของภาคเรียนที่ 1 (ชั้น ป.1 – ม.6) โดยแยกขั้นตอนการสอนกิจกรรมให้มี 6 ขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีการจัดทำ Artwork ต้นฉบับ กิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียน และต้นฉบับคู่มือกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับครู รวมทั้งนำกิจกรรมสะเต็มศึกษา และคู่มือกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับครู เผยแพร่บนเว็บไซต์ www.stemedthailand.org ด้วย
ทั้งนี้ ได้กำหนดเป้าหมายโรงเรียนเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนสะเต็มศึกษา ในปี 2559-2560 พร้อมทั้งขอรับการจัดสรรงบประมาณให้แล้ว
6. ภายใน 3 ปี : ยกระดับภาษาอังกฤษให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้
เมื่อพิจารณาถึงผลการจัดอันดับความรู้ภาษาอังกฤษจาก 10 ประเทศอาเซียน พบว่าร้อยละของประเทศในอาเซียนที่ประชาชนพูดภาษาอังกฤษได้ ลำดับที่ 1 คือ สิงคโปร์ 71% รองลงมา 4 อันดับแรกคือ ฟิลิปปินส์ 55.49% บรูไน ดารุสซาลาม 37.73% มาเลเซีย 27.24% และไทย 10% (6.54 ล้านคน)
ในส่วนของประเทศไทย ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการ
นอกจากนี้ ได้มีการปรับโครงสร้างหลักสูตรและระยะเวลาในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ชั้น ป.1-3 โดยเพิ่มจากเดิมสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง หรือวันละ 1 ชั่วโมง ตลอดจนการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ เช่น จัดทำป้ายบอกทางต่างๆ ภายในสถานศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นต้น
ด้านการพัฒนาครู ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จนั้น ได้มีการพัฒนาครูแกนนำด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ให้มีจำนวนที่เพียงพอ โดยเริ่มต้นพัฒนาครูแกนนำที่มีทักษะ B2 ขึ้นไปจำนวน 350 คน ใช้เวลาอบรมพัฒนาแบบเข้ม 5 สัปดาห์กับครูต่างชาติ จากนั้นจะมีการขยายผลการพัฒนาไปยังครูใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศในปี 2560 อันจะส่งผลถึงการพัฒนาไปยังนักเรียนในโรงเรียนที่ครูแกนนำปฏิบัติการสอนจำนวนประมาณ 35,000 คนอีกด้วย
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้จัดทำสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ให้ประชาชนสามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรี เพื่อสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ คือ Echo English และ
สำหรับการพัฒนาในโรงเรียน English Program/Mini
จากผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2558 ในระดับชั้น ป.6 รายวิชาภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
จากข้อมูลดังกล่าว
จากข้อมูลของ World Economic Forum ในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน (ด้านการศึกษา) พ.ศ. 2558-2559 (ข้อมูลเปรียบเทียบจาก 140 ประเทศ) พบว่าด้านการศึกษาในหมวดพื้นฐานเปรียบเทียบ 3 ปี (จาก 61 ประเทศ)
-
ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ -
การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ -
การจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัย -
การบริการการศึกษาไม่ตอบสนองความจำเป็นของธุรกิจ
นอกจากนี้ มีผลการสำรวจ
ทั้งนี้ ได้วางแผนดำเนินการโดยได้จัดทำฐานข้อมูล Demand/Supply Side ให้มีความทันสมัยภายใน 1 ปี โดยมอบให้คณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ (E2) เป็นผู้จัดทำโปรแกรม พร้อมประสานให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็นผู้สำรวจความต้องการแรงงานจากสถานประกอบการและผู้จ้างงานต่างๆ ในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด จากนั้นจะให้
ขณะเดียวกัน ได้ดำเนินงานขยายโครงการทวิภาคี ทวิศึกษา ทวิวุฒิ สหกิจศึกษา KOSEN หลักสูตรอาชีพระยะสั้นในโรงเรียนสามัญและ กศน. เพื่อสนับสนุนการผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและการผลิตของประเทศ ทำให้มีจำนวนผู้เรียนในโครงการต่างๆ ดังกล่าว เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว
นอกจากนั้น ได้ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนตามขีดความสามารถและความสนใจ โดยจัดการแนะแนวผู้ปกครองและนักเรียนได้ตัดสินใจเข้าเรียนด้านอาชีพในโรงเรียน สพฐ. ส่วนภาคประชารัฐโดย กรอ.อศ. และโครงการสานพลังประชารัฐด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ (E2) ก็ได้มีส่วนสนับสนุนแนวทางการผลิตกำลังคนด้านต่างๆ ไปพร้อมกันด้วย
กระทรวงศึกษาธิการได้มีแนวทางนโยบายที่จะผลิตผู้เรียนที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดีออกสู่สังคม จึงได้กำหนดนโยบายและโครงการต่างๆ เช่น โรงเรียนคุณธรรม, การฟื้นฟูกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีในสถานศึกษา, โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (ด้าน Heart), โครงการธนาคารขยะ, กิจกรรมการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของสถานศึกษาทุกสังกัด, โครงการโตไปไม่โกง เป็นต้น
กระทรวงศึกษาธิการได้สำรวจบ้านพักครูทั้งหมด พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 44,359 หลัง ในจำนวนนี้อยู่ในสภาพที่ดีไม่ต้องซ่อมจำนวน 27,422 หลัง มีสภาพที่จำเป็นต้องซ่อมแซม จำนวน 12,928 หลัง นายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งทำการซ่อมแซมบ้านพักครูให้แล้วเสร็จทั้งหมดตาม Roadmap ของรัฐบาล
กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญต่อประเด็นการแก้ปัญหาการทุจริต คือ การป้องกันและมาตรการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตจากการวิ่งเต้นโยกย้าย การใช้ดุลยพินิจการลงโทษ และการตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ก
เพื่อการขับเคลื่อนงานของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559 ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่
แต่โครงสร้างการบริหารจัดการกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคแบบใหม่นั้น จะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค โดยมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานและมีผู้บริหารองค์กรหลักเป็นกรรมการ ซึ่งจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในส่วนภูมิภาค ด้วยการบริหารจัดการตรงไปที่สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ที่ 1-18 กล่าวคือ จะทำการแต่งตั้งศึกษาธิการภาคขึ้นมา 18 คน และจะมีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ซึ่งประกอบด้วย
บัลลังก์ โรหิตเสถียร : สรุป/รายงาน
3/8/2559