Home / ข่าวประชาสัมพันธ์ /  ก.ค.ศ. มีมติประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ตำแหน่งครูผู้ช่วย สพฐ. จำนวน 61 สาขาวิชา ตำแหน่งว่างรวมทั้งสิ้น 6,437 อัตรา

 ก.ค.ศ. มีมติประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ตำแหน่งครูผู้ช่วย สพฐ. จำนวน 61 สาขาวิชา ตำแหน่งว่างรวมทั้งสิ้น 6,437 อัตรา

ผลการประชุม ก.ค.ศ. 5/2560


         ก.ค.ศ. มีมติประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ตำแหน่งครูผู้ช่วย สพฐ. จำนวน 61 สาขาวิชา ตำแหน่งว่างรวมทั้งสิ้น 6,437 อัตรา ในจำนวนนี้ผู้สมัครต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูหรือผ่านหลักสูตรครู 5 ปีจำนวน 36 สาขาวิชา ส่วนอีก 25 สาขาวิชาซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้เปิดสอนหลักสูตร 5 ปี และเป็นกลุ่มที่ขาดแคลนเรื้อรัง ผู้สมัครจะมีใบครูหรือไม่มีใบครูมาใช้ในวันสมัครก็ได้ เพียงแจ้งว่าไม่มีหลักฐานดังกล่าว และเมื่อสอบได้แล้ว สพฐ.-คุรุสภา จะอำนวยความสะดวกออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูโดยไม่มีใบอนุญาต 1 ใบ เพื่อใช้รายงานตัวที่โรงเรียน โดยไม่ต้องเดินทางมาขอเองที่ส่วนกลางเหมือนทุกปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งจะติวเข้มผู้ผ่านการสอบคัดเลือกทุกคนก่อนบรรจุแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วย

เมื่อวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2560 เวลา 8.00-9.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 5/2560 โดยมี ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุม

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมว่า ภายหลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเปิดรับสมัครการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี พ.ศ. 2560 ซึ่งอนุญาตให้ผู้ไม่มีวุฒิครูมาสอบได้ หลังจากนั้นก็มีเสียงสะท้อนจากกลุ่มนักศึกษาที่มีสิทธิ์สอบตามหลักสูตรครู 5 ปี และกลุ่มอาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่มีความเห็นว่าเรื่อง "วิชาชีพครู" เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการคัดเลือกครู

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้ง สพฐ. และ ก.ค.ศ. ได้รับฟังเสียงสะท้อนดังกล่าว ก็พบว่ามีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก.ค.ศ.จึงได้มีการประชุมหารือกันในครั้งนี้เพื่อพิจารณาประเด็นดังกล่าว โดยมติที่ประชุมเห็นว่า สพฐ. ยังมีความจำเป็นที่ต้องได้ครูที่มีคุณภาพ ตรงตามสาขาที่สถานศึกษาต้องการ และได้ทันเวลา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก รวมทั้งกระบวนการที่จะได้มาของครูจะต้องมั่นใจว่าได้คนที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะทางวิชาครู-วิชาเอกซึ่งเป็นวิชาเฉพาะ ส่วนคุรุสภาก็ยังคงยืนยันในหลักของมาตรฐานวิชาชีพครูเช่นเดิม โดยมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มวิชา/ทาง/สาขาวิชาเอก ที่ประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 61 สาขาวิชา ตำแหน่งว่าง 6,437 อัตรา ดังนี้

ลำดับที่

กลุ่มวิชา/ทาง/สาขาวิชาเอก

ตำแหน่งว่าง

1

คณิตศาสตร์

748

2

ภาษาไทย

1,210

3

ภาษาอังกฤษ

813

4

ภาษาฝรั่งเศส

14

5

ภาษาเยอรมัน

2

6

ภาษาสเปน

1

7

ภาษาจีน/การสอนภาษาจีน

195

8

ภาษาญี่ปุ่น

72

9

ภาษาเกาหลี

13

10

ภาษาเวียดนาม

8

11

ภาษาพม่า

4

12

ภาษาเขมร

1

13

ภาษามลายู

1

14

วิทยาศาสตร์

97

15

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

141

16

ฟิสิกส์

110

17

เคมี

45

18

ชีววิทยา

46

19

สังคมศึกษา

379

20

พุทธศาสนา

2

21

ภูมิศาสตร์

1

22

ประวัติศาสตร์

1

23

สุขศึกษา

70

24

พลศึกษา

221

25

พยาบาลศาสตร์

1

26

ดนตรี

26

27

ดนตรีศึกษา

31

28

ดนตรีไทย

77

29

ดนตรีสากล

117

30

ดนตรีพื้นเมือง

1

31

ดุริยางคศิลป์/ดุริยางค์

11

32

ศิลปะ

11

33

ศิลปศึกษา

127

34

จิตรกรรม

1

35

ทัศนศิลป์

41

36

นาฏศิลป์

185

37

นาฏศิลป์ (โขน)

1

38

คอมพิวเตอร์

56

39

อุตสาหกรรม/อุตสาหกรรมศิลป์

69

40

อุตสาหกรรมศิลป์ (ช่างก่อสร้าง)

5

41

อุตสาหกรรมศิลป์ (ช่างยนต์)

1

42

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

2

43

เกษตร/เกษตรกรรม/เกษตรศาสตร์

62

44

คหกรรม/คหกรรมศาสตร์

75

45

คหกรรมศาสตร์ (อาหาร)

5

46

ประถมศึกษา

338

47

ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา

670

48

จิตวิทยาและการแนะแนว

142

49

วัดผลและประเมินผลการศึกษา

24

50

เทคโนโลยีทางการศึกษา

6

51

บรรณารักษ์

95

52

โสตทัศนศึกษา

6

53

การเงิน/บัญชี

28

54

เศรษฐศาสตร์

1

55

บริหารธุรกิจ

3

56

ธุรกิจ/ธุรกิจศึกษา

2

57

หลักสูตรและการสอน

1

58

การศึกษาพิเศษ

4

59

กายภาพบำบัด

10

60

กิจกรรมบำบัด

6

61

จิตวิทยาคลินิก

1

 

รวม

6,437

 

ในจำนวน 61 สาขาวิชาดังกล่าว ยืนยันว่าผู้สมัครจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูหรือผ่านหลักสูตรครู 5 ปี จำนวน 36 สาขาวิชา ส่วนผู้ที่จะมีใบครูหรือไม่มีใบครูในวันสมัครมีจำนวนทั้งสิ้น 25 สาขาวิชา ซึ่งจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มที่ไม่ได้เปิดสอนหลักสูตร 5 ปี จำนวน 17 สาขา ได้แก่ 1. กายภาพบำบัด 2. กิจกรรมบำบัด 3. การเงิน/การบัญชี 4. จิตรกรรม 5. จิตวิทยาคลินิก 6. ดนตรีพื้นเมือง 7. นาฏศิลป์ (โขน) 8. ภาษาพม่า 9. ภาษาเวียดนาม 10. ภาษาสเปน 11. เศรษฐศาสตร์ 12. โสตทัศนศึกษา 13. หลักสูตรและการสอน 14. อุตสาหกรรมไฟฟ้า 15. อุตสาหกรรมศิลป์ (ช่างก่อสร้าง) 16. อุตสาหกรรมศิลป์ (ช่างยนต์) 17. ภาษามลายู

2) กลุ่มที่มีผู้สมัครสอบแข่งขันได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของสถานศึกษาที่ขาดแคลนเรื้อรัง 8 สาขา ได้แก่ 1. วิทยาศาสตร์ 2. วิทยาศาสตร์ทั่วไป 3. ฟิสิกส์ 4. เคมี 5. ชีววิทยา 6. คณิตศาสตร์ 7. ภาษาอังกฤษ 8. ภาษาเยอรมัน (เป็นกลุ่มวิชาที่ไม่มีผู้สอบแข่งขัน)

สำหรับกำหนดการสอบแข่งขัน ยังคงเหมือนเดิม คือ

  • รับสมัครสอบแข่งขัน ระหว่างวันพุธที่ 29 มีนาคม – วันอังคารที่ 4 เมษายน 2560 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)

  • ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขัน ภายในวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2560

  • สอบข้อเขียน
       ภาค ก
     ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และอุดมการณ์ของความเป็นครู มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน วันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2560
       ภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน 2560

  • สอบสัมภาษณ์
       ภาค ค
     ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ วันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2560 เป็นต้นไป

  • ประกาศผลการสอบแข่งขัน ภายในวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560

บริการที่เป็นพิเศษในการสอบครั้งนี้  คือ ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือใบอนุญาตปฏิบัติการสอน สพฐ.จะอำนวยความสะดวกให้ โดยในวันสมัครให้ยื่นใบสมัคร แล้วแจ้งว่าไม่มีหลักฐานดังกล่าว สพฐ.จะบันทึกเอาไว้ และหากรายนั้นสอบได้ ในระหว่างที่เลือกโรงเรียน สพฐ. จะทำเรื่องโดยตรงไปยังคุรุสภาเพื่อให้คุรุสภาออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูโดยไม่มีใบอนุญาต 1 ใบ เพื่อนำไปรายงานตัวที่โรงเรียน ซึ่งจะต่างจากการสอบทุกครั้งที่ผ่านมาจะมีครูที่ผ่านการสอบคัดเลือกเป็นจำนวนหมื่นคน ต้องเดินทางเพื่อมาขอใบอนุญาตปฏิบัติการสอนเองที่คุรุสภา

นอกจากนี้ หลังจากการสอบคัดเลือกแล้ว สพฐ.จะติวเข้มผู้ผ่านการสอบคัดเลือก ทั้งกลุ่มที่ไม่มีใบครูและกลุ่มที่มีใบครูแล้ว ซึ่งการอบรมเข้มจะเน้นให้ได้รู้สภาพจริงของโรงเรียนที่จะบรรจุแต่งตั้ง

ด้วยกระบวนการนี้ จึงมั่นใจได้ว่า สพฐ.จะได้ครูตรงตามหลักการ คือ ตรงตามสาขาที่ต้องการ มีคุณภาพ และทันเวลา ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับครูโรงเรียนเอกชนด้วย เพราะจะประกาศผลก่อนเปิดภาคเรียนในวันที่ 28 เมษายน เพื่อจะไม่ให้กระทบกับโรงเรียนเอกชนที่จะเตรียมสรรหาครูผู้สอนมาทดแทนได้ทันก่อนเปิดภาคเรียน

 

ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2017/mar/159.html